เมนู

เป็นอัพยากะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการเกาะกุม
ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มุตฺตํ (น้ำมูตร)


มุตฺตํ (น้ำมูตร)

ตั้งอยู่ภายในกระเพาะปัสสาวะ ในน้ำมูตรนั้น
พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อหม้อเกลือคว่ำปากถูกทิ้งไว้ในน้ำคลำ หม้อเกลือ
ย่อมไม่รู้ว่า รสน้ำคลำตั้งอยู่ในเรา แม้รสน้ำคลำก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ใน
หม้อเกลือ
ดังนี้ ฉันใด กระเพาะปัสสาวะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า
น้ำมูตรตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำมูตรเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะ
ปัสสาวะ
ดังนี้. ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำมูตรที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มี
เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการ
เกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.
คำว่า ยํ วา ปน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอาโปธาตุใน
โกฏฐาส 3 ที่เหลือ.

นิเทศแห่งอาโปธาตุนอก


พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอาโปธาตุภายนอก ต่อไป
ตรัสที่อาศัยรากไม้เกิดขึ้น ชื่อว่า มูลรส (รสรากไม้). แม้ในรส
ทั้งหลายมีรสเกิดแต่ลำต้นไม้เป็นต้น ชื่อ มูลรส (รสรากไม้). แม้ในรส
แจ่มแจ้งแล้วทั้งหมดทีเดียว แต่ในทีนี้ไม่มีกำหนดแน่นอนเหมือนในสิกขาบท
ว่าด้วยเภสัช. น้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า น้ำนมนั่นแหละ แม้ในบท
ที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

บทว่า ภุมฺมานิ (พื้นดิน) ได้แก่ น้ำที่อยู่ในบ่อเป็นต้น.
บทว่า อมฺตกฺขานิ (อากาศ) ได้แก่ น้ำฝนที่ยังไม่ตกถึงแผ่นดิน.
บทว่า ยํ วา ปน (ก็หรือว่า น้ำใด) ได้แก่ น้ำหิมะ น้ำยังกับ
ให้พินาศ น้ำรองแผ่นดินเป็นต้นจัดเข้าฐานะในเยวาปนกนัย ในที่นี้.

นิเทศเตโชธาตุภายใน


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเตโชธาตุ ต่อไป
ที่ชื่อว่า เตโช (ธาตุไฟ) ด้วยสามารถแห่งความร้อน. เตโชนั่นแหละ
ชื่อว่า เตโชคตํ (ธรรมชาติที่ร้อน) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นของ
ร้อน. บทว่า อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่ อาการร้อน. ความอุ่นนั่นเอง
ชื่อว่า อุสฺมาคตํ ( ธรรมชาติที่อุ่น) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นอาการ
ร้อน.
บทว่า เยน จ ได้แก่ ธรรมชาติที่ร้อนอันกำเริบแล้ว.
บทว่า สนฺตปฺปติ (ย่อมร้อน) ได้แก่กายนี้ย่อมร้อน คือ เกิดไออุ่น
โดยภาวะที่มีความแก่สิ้นวันหนึ่งเป็นต้น.
คำว่า เยน จ ชิรยติ (เตโชธาตุทำให้ทรุดโทรม) ได้แก่ กายนี้
ย่อมทรุดโทรมย่อมถึงความขาดแคลนแห่งอินทรีย์ สิ้นกำลัง และภาวะมี
หนังเหี่ยว และผมหงอกเป็นต้น ด้วยธาตุใด.
คำว่า เยน จ ปริฑยฺหติ (เตโชธาตุที่ทำให้เร่าร้อน) ได้แก่
กายนี้ถูกธาตุใดที่กำเริบแผดเผา และบุคคลนั้น ก็จะครำครวญว่า เราร้อน
เร่าร้อน ดังนี้ ก็จะหวังเอาเนยใสที่ชำระตั้งร้อยครั้งและจันทน์แดงเป็นต้นมา
ไล้ทา และลมจากพัดในตาล.